บทความ

ข้าวของเฮา อนาคตของข้าว

รูปภาพ
  "ขายถูก ปลูกยาก ซื้อแพง" นี่เป็นคำนิยามของ "ข้าว" ในความคิดของผมเอง ข้าวคำสั้นๆคำเดียวแต่มีความหมายมากสำหรับการดำรงชีวิตของคนไทยทุกคน ทุกคนต้องกินข้าว ในอดีตข้าวคือพืชเศรษฐกิจของไทย คนไทยส่วนใหญ่ปลูกข้าวเป็นอาชีพ อาชีพนี้เรียกว่า "ชาวนา" ผู้เป็นกระดูกสันหลังของชาติ แต่ในปัจจุบันด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป บวกกับราคาข้าวที่ต่ำลง สภาพดินฟ้าอากาศ ค่าแรงงานที่เพิ่มขึ้นการทำนาเลยเปลี่ยนจากอาชีพหลักมาเป็นทำเพื่ออยู่เพื่อกิน การทำนานั้นมีความเสี่ยงสูงมากแทบจะบอกได้เลยว่าไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ฝนจะแล้ง หรือ น้ำท่วม ไม่มีอะไรที่ชาวนาจะคาดเดาได้เลย และวิธีของการทำนานั้นก็จะเปลี่ยนไปตามสภาพอากาศของแต่ละปี แถวบ้านผมจะทำนาได้ปีละครั้งเท่านั้นเอง เมื่อสองสามปีที่ผ่านมาฝนแล้งมาก การทำนาส่วนใหญ่จะเป็นการทำนาแบบนาหว่าน  มาถึงปีนี้ทุกคนก็เตรียมตัวทำนาหว่านเหมือนเช่นสองสามปีที่ผ่านมา แต่แล้วก็ต้องเปลี่ยนแผนเมื่อฝนตกติดต่อกันหลายวัน(ในขณะที่ผมกำลังนั่งเขียนฝนก็กระหน่ำลงมาอีก)คนส่วนใหญ่เปลี่ยนแผนมาทำนาดำทันที มีอีกส่วนรอดูฝนอีกทีว่าจะดำหรือหว่าน ถ้าดำเสร็จกลัวฝนไม่ตกถ้าจ...

คำถามยอดฮิต

รูปภาพ
"ใหย่ขึ้นอยากเป็นหยังน้อบักหล่า" เป็นคำถามยอดฮิตของคนในชนบท  สิ้นเสียงคำถามจะตามมาพร้อมกับคำแนะนำว่า "เรียนให้ได้เป็นเจ้าเป็นนายเด้อหล่าเอ้ย" อาชีพที่แนะนำกันรุ่นสู่รุ่นคือ ครู หมอ ตำรวจ ทหาร พยาบาล ทนาย ส่วนใหญ่แล้วคือการรับราชการนั่นเอง คงไม่แปลกอะไรมากมายนักสำหรับคำแนะนำ เพราะคนรุ่นพ่อรุ่นแม่คงไม่อยากให้เรามาทำงานลำบากตรากตรำแบบที่พวกท่านเป็นอยู่ เพียงแค่อยากให้ลูกได้ทำงานที่มีความมั่นคงมี หน้ามีตาในสังคม  ผู้ปกครองจึงช่วยกันผลักดันให้ลูกได้เรียนหนังสือ เรียนตามๆกันไปวันไหนลูกขาดเรียนก็ได้แต่ด่าลุกว่าขี้เกียจเรียนบ้างละ ด่าลูกว่าไม่เห็นตั้งใจเรียนเหมือนลูกคนอื่นบ้างละต่างๆนานา ผมได้แต่นั่งมองและนั่งคิดว่าทำไมเด็กไม่อยากไปโรงเรียน พอถามก็ได้คำตอบว่าไม่สบาย ปวดหัว ปวดท้องสารพัดเหตุผลทั้งๆที่ดูยังไงก็ไม่น่าจะป่วยแต่บางวันเด็กพวกนี้กลับกระตือรือร้นอยากไปโรงเรียนเอามากๆอะไรทำให้พวกเขาอยากไปโรงเรียน ????  กลับมานั่งๆคิดดูตอนที่เราเรียนหนังสือ ตอนนั้นทำไมเราถึงไม่อยากไปโรงเรียนและมีบางครั้งทำไมเราถึงต้องรีบตื่นแต่เช้าเพื่ออยากไปโรงเรียนเอามากๆ ในตอนนั้นเราจะตอบค...

ผู้บ่าวบ้านบ้านกับงานเอาบุญแอว

รูปภาพ
"ช่วยงาน เขาให้ช่วยงานล้มวัว เป็นคนทุบหัว ล้มงัวลาบก้อยวันงาน  คาดไม่ถึงน้องเชิญเป็นมือสังหารฝืนใจต้องไปวันงาน วันงานน้องเอาบุญแอว" ขอบคุณเนื้อเพลงมือสังหารของพ่อใหญ่สาธิต ทองจันทร์ เด้อคับ ยามไดได้ไปฟักลาบงานแต่งกะคิดเห็นแต่เพลงนี่ละคับเป็นเพลงแรก    งานแต่งงานหรือภาษาชาวบ้านเขาเรียกกันว่า "งานเอาบุญแอว" ประเพณีของแต่ละท้องถิ่นจะทำแตกต่างกันออกไปตามความเชื่อและวัฒนธรรม ในสมัยก่อนแถวบ้านผมงานแต่งงานก็จะมีการบอกกล่าวคนในหมู่บ้านให้มาช่วยงานทำกับข้าว ช่วยๆกันโดยที่ไม่ต้องเสียค่าจ้าง ทั้งการสับเนื้อหั่นเนื้อ ภาษาอีสานเรียกกันว่า "ฟักลาบ" การล้างถ้วยล้างจาน การทำกับข้าวอื่นๆอีกมากมาย แบ่งหน้าที่กันไปว่าใครทำอะไรบ้าง     แต่ในยุคสมัยใหม่ได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย บางงานก็จะใช้เครื่องบดเนื้อ เข้ามาทดแทนแรงงานคน ประหยัดเวลาประหยัดเหล้ายาปลาปิ้ง ป้องกันการขโมยเนื้อไปในตัว  ถ้วยจานก็จ้างกันล้างเป็นทีมงานเพราะบางงานเจ้าภาพก็อยากจะสนุก "ฮ่วยกลับมาจากกรุงเทพฯ ทั้งทีสิให่มานั่งล้างจานได้จังได๋ จ้างโล้ดจ้างๆๆ" 55 หรือบางงานก็จ้างกันเป็นแบบเหมาหรือที่...

ท้ายกระบะจากบ้านนา

รูปภาพ
 " ฮัลโลๆหล่าเอ้ย เลิกงานไป่ เฮดงานเมื่อยบ่ กินข้าวแซ่บบ่ สงกรานต์นี้เป็นตะได้เมือบ้านเฮาบ่น้อ แม่กับพ่อคิดฮอดหลาย ลูกสูกะกำลังดื้อเด้อแล่นกะบ่ทันแล้ว"        อันอ้ายหำเพิ่นกลับมาบ้าน เพิ่นสิขึ้นไปกรุงเทพ มื้ออื่น อยากได้หยังบ่แม่สิฝากไปให้ ได้กินจักเทื่อไป่เห็ดนั้นนะ ปีนี้เห็ดออกหล้ายหลายแม่ได้ข่าวว่ายุพุ้นเห็ดคือแพงแท้หล่า แม่สิส่งไปให้เด้อจั่งบ่ได้ซื้อเขา ข้าวสูเหลือหลายบ่แม่สิฝากไปให้ บักพริกบักนาวแม่สิฝากไปให้เด้อ ค่อยส่อยค่าน้ำมันอ้ายเพิ่นเอาเด้อหล่า เอออีกเรื่องนึงนมลูกสูสิเหมิดแล้วอย่าลืมๆๆเด้อ  เอ่อๆอีกเรื่องๆสิ้นเดือนนี้แม่สิใช้หนี้ธกส.เด้อ อย่าลืมนัดแม่เด้อลูกหล่า 55      เสียงยายแก่ๆข้างบ้านสนทนากับลูกผ่านทางโทรศัพท์มือถือ และบทสนทนาแบบนี้น่าจะเกิดขึ้นกับทุกๆครอบครัวที่มีลูกชายลูกสาวไปทำงานต่างแดน(จักแม่นห่วงลูกหรือห่วงหนี้ธกส.บุนิ55) ทุกครั้งที่มีคนในหมู่บ้านหรือญาติพี่น้องที่ทำงานใกล้ๆกันกลับมาทำธุระที่บ้าน ประเพณีฝากของก็จะเริ่มต้นขึ้น โดยเฉพาะคนที่มีรถกระบะจะได้รับของฝากจากใครหลายๆคน เพื่อนำไปส...